WiTcast Special – ซูกัสเล่าประสบการณ์เป็นธาลัสซีเมีย / งานวิจัยการรักษาด้วย gene therapy / + BONUS ท้ายตอน

ลิงค์ไปเปเปอร์งานวิจัย Gene Therapy in Patients with Transfusion-Dependent β-Thalassemia รายงานข่าวในไทย –1,2,3,4,5 เบสิกของ Hemoglobin ประกอบด้วยหน่วย อัลฟ่า และ เบต้า ขั้นตอนการทำ Gene Therapy บรรจุรหัสยีนที่ถูกต้องลงในไวรัส เก็บเซลไขกระดูกที่มียีนผิดพลาดออกมาจากผู้ป่วย ใช้ไวรัสส่งยีนที่ถูกต้องเข้าไปในเซลเหล่านั้น ฉีดเซลที่มียีนปกติแล้วกลับเข้าสู่ร่างกาย Retrovirus ที่เป็นเชื้อโรค ปกติจะปล่อย RNA เข้าเซลเรา แล้วสังเคราะห์ย้อนกลับเป็นชิ้น DNA ซึ่งจะไปแทรกใน DNA ของเรา แล้วทำให้เซลเรากลายเป็นโรงงานผลิตไวรัส แต่เราสามารถเอาคุณสมบัตินี้มาใช้ประโยชน์ แพ็คยีนที่เราต้องการใส่เข้าไปแทนยีนไวรัส แล้วใช้มันเป็นยานพาหนะ (vector) ส่งยีนที่ถูกต้องไปยังเซลที่เราจะรักษาได้   ความสำเร็จอื่นๆ ของการรักษาด้วย gene therapy –1,2 ภาพบรรยากาศการอัด เครดิตดนตรีประกอบ DOWNLOAD ไฟล์โบนุส ฟังให้จบตอนก่อนแล้วจะรู้ว่าคืออะไร

WiTThai – s01e10 “โรคาวิวัฒน์” กับ อ.อิศรางค์ นุชประยูร

WiTThai ตอนนี้เป็นการเดินทางไปสัมภาษณ์ ศ.ดร.นพ.อิศรางค์ นุชประยูร ที่ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในหัวข้อเรื่องความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการระหว่างโรคมาลาเรีย ธาลัสซีเมีย และภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD นอกจากนี้อาจารย์อิศรางค์ยังถ่ายทอดข้อคิดและประสบการณ์ในการทำงานวิจัย ตลอดจนการช่วยผู้ป่วยเด็กให้มองเห็นคุณค่าของชีวิต แทนที่จะท้อแท้ไปกับความเจ็บป่วยซึ่งเลือกเกิดไม่ได้ งานวิจัยที่พูดถึงในตอนนี้ได้รับคัดเลือกเป็นหนึ่งในงานวิจัยเด่นของสกว. ประจำปี 2553 Timestamp เริ่ม-ทักทาย เกริ่นนำ WiTThai 1:01-ภาพรวม WitThai ตอน “โรคาวิวัฒน์” กับ อ.อิศรางค์ นุชประยูร 1:53-เพลง WiTThai 3:52-แนะนำตัวทีมงาน และรายการ 7:02-มาลาเรีย (Malaria) 27:47-ธาลัสซีเมีย (Thalassemia) 36:00-ความสัมพันธ์ระหว่างธาลัสซีเมีย และมาลาเรีย 48:55-ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD (Glucose-6-phosphate dehydrogenase deficiency) 1:12:59-ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD และมาลาเรีย 1:18:07-ฐานข้อมูลกับการทำวิจัย / งานวิจัยที่ตีพิมพ์ลงวารสาร Science 1:21:23-การทำงานวิจัยของ อ.อิศรางค์ นุชประยูร 1:26:18-โรคมะเร็งในเด็ก 1:28:24-เก็บกวาด WiTThai […]