Podcast: Play in new window | Download (Duration: 1:11:02 — 32.7MB)
Subscribe: Google Podcasts | Spotify | RSS | More
WiTThai ตอนนี้ เราเดินทางไปสัมภาษณ์ ทพญ. ดร. สิริพร ฉัตรทิพากร ที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2559
เนื้อหาในตอนเน้นเผยความเชื่อมโยงระหว่างความอ้วนกับโรคอัลไซเมอร์ โดยเฉพาะในหญิงวัยหมดฮอร์โมน ซึ่งเป็นเรื่องที่คนทั่วไปมักไม่ทราบมาก่อน
นอกจากนี้อาจารย์ยังได้อธิบายถึงภาวะร่างกายอักเสบเรื้อรัง (chronic inflammation) อันเป็นต้นตอของสารพัดโรคตั้งแต่เบาหวาน หัวใจ ไปจนถึงอัลไซเมอร์
การเห็นความเชื่อมโยงของสาเหตุนำไปสู่การทดลองค้นพบตัวยาและวิถีชีวิตที่น่าจะสามารถช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ตลอดจนช่วยซ่อมแซมความเสียหายต่างๆ ที่เกิดจากภาวะอักเสบได้
งานวิจัยที่พูดถึงในตอนนี้ได้รับคัดเลือกเป็นหนึ่งในงานวิจัยเด่นของสกว.ประจำปี 2558
ลำดับเนื้อหาในตอน
แนะนำรายการใหม่ WiTThai / สัมภาษณ์อ.สิริพร ฉัตรทิพากร ที่ม.เชียงใหม่ / สรุปย่อความเชื่อมโยงไขมันกับอัลไซเมอร์ / ย้อนไปเล่าเบสิกของการอักเสบอันเป็นบ่อเกิดของโรคต่างๆ / โยงเข้าเรื่องเบาหวาน / เล่าขั้นตอนการทดลองของอาจารย์ / ผลชี้ยาต้านเบาหวานช่วยกู้ความจำและป้องกันเซลสมองเสื่อมในหนูอ้วนได้ / เป็นโมเดลที่เหมาะเอาไปพัฒนากับคนต่อไป
SHOW NOTE
ชื่อเต็มงานวิจัย “ผลของยาต้านเบาหวานและเอสโตรเจนต่อการเรียนรู้และความจำของสมองในภาวะอ้วนและขาดฮอร์โมนเพศหญิง “
ชื่อและตำแหน่งเต็มอาจารย์ “รศ.ทพญ.ดร.สิริพร ฉัตรทิพากร”
อ. ศิริพร ในวันรับรางวัลงานวิจัยเด่นของสกว.ประจำปี 2558
รวมลิงค์ข่าว –1,2,3,4,5
อ้วนลงพุง หุ่นลูกแพร์ ค่า BMI และความเสี่ยงต่ออัลไซเมอร์ –1,2,3,4
ผมยังอ่านไม่แตกฉาน เลยงงอยู่ว่าอ้วนแบบไหนคือ “ลงพุง” กันแน่ แต่มีงานวิจัยบอกว่าถ้า pear shape จะเสี่ยงต่ออัลไซเมอร์มากกว่า
ความสัมพันธ์ระหว่างฮอร์โมนเอสโตรเจนกับความอ้วนในผู้หญิง –1,2,3,4,5
ภาพตัวอย่างสมองคนเป็นอัลไซเมอร์
รอบๆ เซลมีขยะโปรตีนสะสม –1
ทำความเข้าใจ Inflammation (การอักเสบ) และบทบาทที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ –1,2,3,4,5
การอักเสบทั่วไปเวลาบาดเจ็บ (acute inflammation) เป็นแล้วหาย
Chronic low grade inflammation การอักเสบอ่อนๆ แต่ยืดเยื้อเรื้อรัง
ไขมันสะสมยิ่งทำให้เกิดการอักเสบประเภทหลัง
การที่ร่างกายอยู่ภายใต้ภาวะอักเสบนานๆ เหมือนต้องเฝ้าระวังภัยอยู่ตลอดเวลา จนสุดท้ายไปบั่นทอนการดำรงชีพปกติ เซลเครียด เสื่อมสภาพ เป็นบ่อเกิดสารพัดโรค ตั้งแต่เส้นเลือดตีบ ข้อเสื่อม ตับเสื่อม เบาหวาน จนถึงอัลไซเมอร์ ทั้งหมดล้วนโยงกับกลไกเดียวกัน
เบสิกของเบาหวาน
Type 1 ผลิตอินซูลินไม่ได้
Type 2 ตัวรับไม่ทำงาน / ภาวะดื้ออินซูลิน
Type 3 เบาหวานมาคู่อัลไซเมอร์ –1,2
ตัวอย่างลักษณะการทดลองที่ให้หนูว่ายน้ำ (ภาพจากเน็ต)
แล็บ CERT (http://goo.gl/gYTDFc) ของอ.สิริพร และอ.นิพนธ์ มีผลงานวิจัยเยอะมากครับ ใครใคร่สงสัยเชิงลึกเรื่อง “อ้วนอัลไซเมอร์” เชิญขุดคุ้ยต่อได้จากลิงค์นี้ (http://goo.gl/KG49cW) เข้าไปแล้วเสริชคีย์เวิร์ด obese, insulin, brain ประมาณนี้ก็ได้ครับ / ส่วนบทสรุปภาษาไทยสำหรับสามัญชน สกว.ได้จัดทำเอกสารไว้ที่นี่ (http://goo.gl/Igt1ZM) / และถ้าต้องการคอมเม้น ถามคำถามต่างๆ นานาไปยังอาจารย์ หรือจะรีวิวรายการหลังฟังจบ สามารถมาฝากข้อความไว้ได้ที่โพสต์นี้ได้นะครับ (https://goo.gl/m562Wd) ผมจะมาเช็คตลอดครับ
มาดูภาพบรรยากาศวันที่ไปสัมภาษณ์อาจารย์มั่งครับ
ถ่ายภาพหมู่หลังสัมภาษณ์จบ
สถานที่จากใหญ่ไปเล็กคือ ม.เชียงใหม่ > คณะแพทย์ > ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมสาขาโรคทางไฟฟ้าของหัวใจ (Cardiac Electrophysiology Research and Training Center, CERT) ที่นี่จริงๆ นอกจากศึกษาเรื่องสมองแล้ว ยังศึกษาเรื่องหัวใจเป็นหลัก มีโต๊ะผ่าตัดสำหรับหมูทดลองด้วย
อาจารย์อีกท่านที่พวกเราได้พบคือ ดร.นพ.นิพนธ์ ฉัตรทิพากร สามีอ.สิริพร และเจ้าของรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติปี 2557 ท่าทางท่านจะเอ็นดูป๋องแป๋งเป็นพิเศษ
อาจารย์พาทัวร์แล็บ จริงๆ มีอัดเสียงไว้ด้วย ไว้ค่อยหาโอกาสเผยแพร่ฮะ
ป๋องแป๋งดูท่าทางจะสนใจหน้าตานักศึกษาในแล็บนี้เป็นพิเศษ
ขอบคุณผู้ฟังผู้ติดตามทุกท่าน
ขอบคุณอ.สิริพรที่ต้อนรับพวกเราอย่างอบอุ่น และขอบคุณสกว.ที่ให้โอกาสพวกเราทำงานนี้ครับ ^ ^
อย่าลืมนะฮะ ช่วยกันระดมยิงข้อติชมมาได้ที่ facebook.com/witcastthailand ครับ