Podcast: Play in new window | Download (Duration: 1:24:11 — 38.5MB)
Subscribe: Google Podcasts | Spotify | RSS | More
WiTThai ตอนนี้ฟีเจอริ่งผลงานวิจัยสาขาฟิสิกส์ทฤษฏีของ ดร. ปริญญา การดำริห์ ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาจวรงค์ ป๋องแป๋ง จันทมาศ หนึ่งในผู้ดำเนินรายการ ได้เป็นตัวแทนไปสัมภาษณ์ ดร. ปริญญา จากนั้นนำเรื่องราวกลับมาเล่าถ่ายทอดให้ผู้ดำเนินรายการอีกสองท่านได้ฟังและซักถาม
เนื้อหาของตอนเน้นปูพื้นฐานความเข้าใจทฤษฎีฟิสิกส์ต่างๆ (อาธิ string theory, standard model, supersymmetry, general relativity, supergravity) และความพยายามประสานทฤษฎีเชิงควอนตัมซึ่งใช้กับอนุภาคเล็กๆ เข้ากับทฤษฎีแรงโน้มถ่วงซึ่งใช้กับโลกระดับใหญ่
คุณอาจวรงค์ได้อธิบายเรื่องที่เข้าใจยากมากๆ เหล่านี้ ให้คนทั่วไปพอจะสามารถเข้าถึงหรืออย่างน้อยๆ ร่วมเห็นความสำคัญได้ เช่นได้ร่วมเข้าใจว่าเหตุใดความก้าวหน้าด้านการคำนวณที่อาจารย์ปริญญาทำสำเร็จจึงได้รับการยอมรับในระดับโลก
นอกจากนี้ท้ายตอนมีเสียงบันทึกของอาจารย์ปริญญาเองมาให้ข้อคิดเกี่ยวกับความอดทนและไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคในการทำงาน รายการตอนนี้ช่วยเพิ่มความหลากหลายให้ผู้ฟังรับทราบว่านอกจากงานเชิงประยุกต์แล้ว สกว.ก็สนับสนุนงานวิจัยเชิงทฤษฎีที่พยายามจะเข้าใจธรรมชาติในระดับลึกเช่นเดียวกัน
Timestamp
0:00-4:52 intro
4:52-7:32 เกริ่นถึงดร.ปริญญา
7:33-10:23 ปูอารมณ์ อะไรบันดาลใจให้ป๋องแป๋งชอบฟิสิกส์ทฤษฎี
10:24-13:25 หัวข้องานวิจัยของดร.ปริญญา ที่ว่าด้วย supergravity และความสัมพันธ์แบบ AdS/CFT ใน 7 มิติ
13:43-16:47 ย้อนไปเล่าความพยายามรวมกฏเกณฑ์ของโลกเล็กเข้ากับโลกใหญ่
16:47- 20:23 Paul Dirac จับทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษมารวมกับควอนตัม ได้เป็นสนามควอนตัม และนำไปสู่ Standard Model ซึ่งเวิร์กมาก
20:23-22:36 ลองเอาสัมพัทธภาพทั่วไปที่กว้างกว่ารวมดูบ้าง ปรากฏเจอค่าอนันต์เบร้อ คำนวณไม่ได้
22:36-23:54 หันไปพึ่งทฤษฎี Superstring
23:54-25:23 เล่าโยงไปถึง Supergravity เกิดจากสัมพัทธภาพทั่วไป ผสม supersymmetry ซึ่งคำนวณไม่ได้เบร้ออยู่นานจนนึกว่าไม่มีประโยชน์
25:23-31:44 กลับมาซูเปอร์สตริง ปกติเวิร์กมากสำหรับพลังงานต่ำ ข้อจำกัดคือเวลาชนพลังงานสูงคำนวณไม่ได้ แต่พอเอามาใส่ในกรอบ Supergravity แล้วดันคำนวณได้ ทฤษฎีนี้เลยคืนชีพ
31:44-36:00 ย้อนกลับไปอธิบาย Supersymmetry ที่เป็นส่วนผสมของ Supergravity เริ่มจากสมมาตรคืออะไร
36:00-43:34 Emmy Noether เอาเรื่องสมมาตรมาอธิบายที่มาของกฏฟิสิกส์ได้
43:34-45:47 แตะนิดๆ เรื่อง gauge theory
45:47-54:13 อธิบายเรื่อง supersymmetry บรรดาอนุภาคที่ควรจะมีคู่สมมาตรของกันและกัน
54:13-56:13 ประโยชน์ของ Supersymmetry เอามากำจัดค่าอนันต์ได้
56:13-1:01:14 ทวนนิดหน่อย ต่อด้วยหลักการย้ายกรอบคำนวณจากทฤษฎีนึงไปอีกทฤษฎีนึง ซึ่งก็คือความสัมพันธ์แบบ AdS/CFT ทำให้ทฤษฎีพวกอนุภาคเอาไปคำนวณกับทฤษฎีแรงโน้มถ่วงได้
1:01:14-1:04:39 หลัก holographic principle คือเปลี่ยนจำนวนมิติแล้วคำนวณได้ แรงโน้มถ่วงใน d มิติ ย้ายไปคำนวณเป็นสนามควอนตัม d-1 มิติได้
1:04:39-1:12:39 ในที่สุดก็มาถึงงานวิจัยของอาจารย์ปริญญา ที่ทำเรื่อง supergravity ใน 7 มิติ ซึ่งไม่มีใครทำได้มาก่อน / 1:12:39-1:18:23 ปิดท้ายรายการด้วยเสียงดร.ปริญญา เล่าเรื่องความพยายามในการแก้โจทย์ปัญหา
1:18:23-1:24:33 เฉลยคำถาม WiTThai ตอนที่แล้ว ประกาศรางวัล และถามคำถามตอนใหม่