WiTThai s03e05 – “พฤติกรรมออนไลน์ กับ #ห้องแห่งเสียงสะท้อน” อ. พิรงรอง รามสูต

แชร์เรื่องนี้ต่อ

WiTThai ตอนนี้ พาไปเรียนรู้อย่างรีแล็กซ์ กับ ศ. ดร. พิรงรอง รามสูต 

รองอธิการบดี กำกับดูแลด้านสื่อสารบริการสังคมและพันธกิจสากล

คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

ทำความรู้จักคอนเซ็ปของปรากฏการณ์ทางการสื่อสารต่างๆ ในยุคโซเชียลมีเดีย

Echo Chamber หรือห้องแห่งเสียงสะท้อนออนไลน์ คืออะไร?

Filter Bubble หรือภาวะฟองสบู่กรองข่าวสาร คืออะไร?

Hate Speech หรือประทุษวาจา คืออะไร?

 

ในงานวิจัยล่าสุดของอ.พิรงรองและคณะ ซึ่งมีชื่อว่า

“ห้องแห่งเสียงสะท้อนออนไลน์ กับผู้ออกเสียงเลือกตั้งครั้งแรก ในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ.2562”

เราจะได้ค้นพบว่า

คนรุ่นใหม่มีทัศนคติต่อทางการเมืองไทยอย่างไร ?

การกดไลค์ กดแชร์ คอมเม้น ในเพจการเมืองขั้วใดขั้วหนึ่ง ส่งผลอย่างไรต่อข่าวสารที่ได้รับผ่านฟีดเฟซบุค ?

นักศึกษามหาวิทยาลัย เปิดกว้างต่อความคิดเห็นที่แตกต่างจริงหรือไม่ ?

ความขัดแย้งบนโลกออนไลน์ เชื่อมต่อกับการแสดงออกในโลกจริงอย่างไร ?

ในทวิตภพ มีภาวะห้องแห่งเสียงสะท้อนเกิดขึ้นหรือไม่ ?

อะไรสามารถเป็นสะพานเชื่อมระหว่างห้องที่ปกติอยู่แยกกัน ?

 

เวอร์ชั่นวิดิโอ

 

 

 

ภาวะ Echo Chamber หรือห้องแห่งเสียงสะท้อน

  • เกิดการเชื่อมต่อพูดคุยกันเฉพาะกับกลุ่มคนที่คิดเห็นเหมือนตัวเองอยู่แล้ว

  • หมุนเวียนยืนยันความคิดความเชื่อเดิมของกันและกัน (มาพร้อมภาวะ filter bubble ซึ่งกรองข่าวสารให้เหลือแต่สิ่งที่เห็นด้วย)

  • กดดันและขับไล่คนที่คิดเห็นต่างออกไปจากกลุ่ม บ่อยครั้งด้วย hate speech

  • บ่มเพาะ ตอกย้ำ ขยายความรุนแรงของอคติและความเกลียดชังมากขึ้นเรื่อยๆ โดยตัวเองอาจไม่รู้สึกถึงความรุนแรง การเหมารวม หรือความหยาบคายของถ้อยคำที่ใช้ เพราะเจอแต่คนที่โอเคกับการทำเหมือนๆ กัน

  • นัยหนึ่งอาจเป็นเพียงพื้นที่ระบายของสังคมที่อัดอั้น

  • แต่อีกนัยก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการที่สังคมจะแตกแยก แล้วหมดช่องทางที่จะสื่อสารแลกเปลี่ยนรับฟังกันดีๆ

 

วิดิโอเรื่อง Hate Speech

บรรยากาศวันที่ไปสัมภาษณ์ อาบันกับอาจารย์พิรงรองชอบเหมียวเหมือนกัน