WiTcast 121 – ราโชมอน ควอนตัม / อธิบายรางวัลโนเบลฟิสิกส์ 2022 แบบข้ามโลก Ft. พี่ชิว & โอห์ม & โตโต้

รูปนี้สร้างโดย Ai Midjourney ด้วยการ prompt ว่า quantum teleportation อีพีนี้ทดลองให้ผู้รู้ฟิสิกส์หลายท่าน (พี่ชิว บัญชา ธนบุญสมบัติ, คุณโอห์ม ธนภัทร ดีสุวรรณ, คุณโตโต้ คชานนท์ นิรันดร์พงศ์) มาเล่าให้ฟังเกี่ยวกับศาสตร์ควอนตัมที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ปี 2022 โดยต่างคนต่างแยกกันเล่าแบบไม่ได้เตี๊ยม ลองดูซิว่าเรื่องเดียวกัน แต่คนละคนเล่าจะออกมาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร น่าสนใจมากๆ ชวนกดฟังเลยจ้า หนังสือควอนตัมที่เพิ่งออกใหม่ของพี่ชิว มาสั่งซื้อกันได้ทาง inbox เพจ WiTcast บรรยากาศการจัดรายการ

WiTThai s03e10 – “ควอนตัมสารพัดประโยชน์” คุยกับ อ.วรวัฒน์ มีวาสนา เพื่อนสมัยเด็กที่เป็นนักวิจัยดีเด่น

หมายเหตุ – ใครไล่ฟัง WiTThai ซีซั่นนี้มาเกิน 5 ตอนแล้ว เชิญชวนกรอกแบบสอบถามให้หน่อยนะคร้าบ ทำแป๊บเดียวที่ลิงค์นี้เลย https://forms.gle/kGU5XbdqUq5Jf2Gf8 วิทย์ไทยตอนนี้ สัมภาษณ์เพื่อนวัยเยาว์ของข้าพเจ้าที่เติบโตมาเป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติสาขาฟิสิกส์ปีล่าสุด รศ.ดร. วรวัฒน์ มีวาสนา   ถือเป็นการปิดท้าย SS3 กันด้วยบรรยากาศรีแล็กซ์ โดยชม.แรกจะเน้นรำลึกความหลัง ถามประวัติชีวิต การเรียน และเส้นทางสายวิจัย จากนั้นครึ่งหลังจะเข้าสู่วิชาการ การค้นหาปรากฏการณ์แปลกๆ จากโลกควอนตัมฟิสิกส์ แล้วนำมาประยุกต์ใช้เป็นเทคโนโลยีที่ล้ำยุคราวกับของวิเศษ ใครอยากเข้าใจคำว่า semi-conductor, superconductor, electronics, spintronics, supercapacitor, negative compressibility, superposition, quantum entanglement, quantum computing อีพีนี้จะอธิบายให้ฟังอย่างนุ่มนวล ไปดูรายละเอียดผลงานวิจัยและของอ. วรวัฒน์ต่อได้ที่ http://stdb.most.go.th/scientist_detail.aspx?id=5780   สนับสนุนรายการโดย: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) พิธีกรประจำตอน: ดร. แทนไท ประเสริฐกุล, อาบัน สามัญชน ภาพปกโดย: […]

WiTcast 64.2 – วิทย์ฐาน: มรดกทางปัญญาของ Stephen Hawking ฟีเจอริ่ง คุณสุทธิชัย หยุ่น

หนังสือในตำนานที่บันดาลใจคนนับล้าน A Brief History of Time ; Stephen Hawking ในฐานะนักสื่อสารวิทยาศาสตร์   ประวัติการขบคิดเรื่องหลุมดำ เรื่อยมาจนถึงทฤษฎีของ Hawking สัมพัทธภาพของ Einstein ทำนายถึงวัตถุที่มีความโน้มถ่วงเข้มมาก เรียกว่าหลุมดำ (Black Hole) หลุมดำ แม้ตัวมันเองจะ “มืด” แต่รอบๆ สว่างได้ด้วยสสารต่างๆ ที่กำลังตกเข้าหลุมดำแล้วปล่อยพลังงานออกมา คอนเซ็ปเรื่อง ความเร็วหลุดพ้น หรือ Escape Velocity   คอนเซ็ปเรื่อง กฎ Thermodynamics กฎข้อ 2 กล่าวไว้ว่า ระดับความวุ่นวายของเอกภพ หรือ Entropy ต้องเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อันนี้เคยพูดยาวไว้แล้วใน WiTcast ep 15.2 ลองย้อนฟังได้ หลุมดำ เหมือนจะขัดกฎ Thermodynamics เพราะถ้าเอาอะไรไปโยนใส่หลุมดำ ความวุ่นวายเหมือนจะหายไป Jacob Bekenstein คิดคำอธิบายว่าจริงๆ แล้ว Entropy อาจไปอยู่ที่ผิวหลุมดำ […]

WiTdrive 03 – บทสนทนาระหว่างขับรถ ft.โรเบิร์ต แรนด้อม

ระหว่างนั่งรถก็ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์กันอีกแล้ว ป๋องแป๋งนึกข่าวอะไรได้ก็ระดมเล่ามาอย่างแรนด้อม – อีซ่าเตรียมส่งยานสำรวจยูโรป้า – นากร้องน่ารัก – จำนวนโครโมโซมเกี่ยวข้องอะไรกับความฉลาดรึเปล่า – จีนจัดดาวเทียมส่งข้อมูลโดยอาศัยหลัก quantum entanglement -โนว่าคืออะไร ดาวแคระขาวคืออะไร – ซูเปอร์โนว่าส่งผลต่อวิวัฒนาการบนโลก – ถึงอ้นโดยสวัสดิภาพ #WiTdrive 03 – บทสนทนาระหว่างขับรถ ft. โรเบิร์ต แรนด้อม อัดไว้เมื่อสิงหาคมที่ผ่านมา… Posted by WiTcast on Friday, 21 October 2016

WiTcast – episode 23.3 วิทย์ฐาน/โลกควอนตัม/Schrodinger’s cat

SHOW NOTE Erwin Schrödinger   โควตลอร์ดเคลวินจากปี 1900 “There is nothing new to be discovered in physics now. All that remains is more and more precise measurement” – Lord Kelvin Werner Heisenberg Wolfgang Pauli Neil Bohr Schrodinger’s cat   Hugh Everett EPR parqadox Pauli exclusion principle Degenerate matter Neutron star