WiTcast Special – คุยกับสองพี่น้องเอ็กซ์อิกซ์ เรื่องบอร์ดเกมส์ / การศึกษา / คณิตศาสตร์ / คนไทยเก่งๆ ที่อยู่เมืองนอก และอื่นๆ

ตอนพิเศษอีพีนี้ สองพี่น้องเอ็กซ์-อิ๊กซ์ แวะมานั่งคุยที่บ้าน   คุณเอ็กซ์ ผู้พี่ เป็นบอร์ดเกมดีไซน์เนอร์ (เพจ Wizard of Learning) มาชวนคุยเรื่อง คราฟบอร์ด  งานออกแบบบอร์ดเกมที่ใช้ต้นทุนต่ำ ทำน้อย แต่ได้สำแดงไอเดีย ติดตามแนวทางได้จากเพจ Craft Board Journey คุณอิ๊ก เป็นอาจารย์ด้าน theoretical computer science อยู่ที่ University of Michigan  มาเล่าว่าในสาย math สายคำนวณต่างๆ มีคนไทยเก่งๆ อยู่เมืองนอกมากมาย   หัวข้อที่คุย – คุณอิกซ์เล่าลักษณะงานว่าฟีลด์นี้เค้าทำอะไรกันบ้าง เช่น การหาอัลกอริทึมหรือวิธีที่ดีที่สุดในการทำอะไรบางอย่าง ขนาดการคูณเลข หรือการหาจำนวนเฉพาะ ก็ยังมีคนที่คิดค้นวิธีใหม่ๆ ที่ดีกว่าเก่าได้เรื่อยๆ เรื่องนี้เกี่ยวอะไรกับความปลอดภัยของอินเตอร์เน็ต ควอนตัมคอมพิวเตอร์ ใกล้หรือยัง การทำงานที่เมกาแฮปปี้หรือไม่อย่างไร ต่างกับอยู่ไทยอย่างไร ค่าตอบแทนของคนในวงการศึกษา เรื่อง Ai กับจริยธรรม ฟัง podcast อะไรกันบ้าง […]

WiTcast 79.1 – Computing Science คืออิหยัง? แนวคิดใหม่ในการสอนคอมพ์ให้เด็กไทย

แขกรับเชิญตอนนี้ได้แก่ อ.ม็อค ผนวกเดช สุวรรณทัต (บน) และอ.ท็อป วัชรพัฐ เมตตานันท (ล่าง) ทั้งสองมาร่วมแชร์ประสบการณ์อยู่ในทีมออกแบบหลักสูตร+ตำราใหม่ ที่จะเริ่มสอน “Computing Science” หรือ “วิทยาการคำนวณ” ให้กับเด็กไทยตั้งแต่ ป.1 รูปนี้อ.ท็อปถ่ายคู่กับรูปปั้น al-Khwarizmi ผู้ให้กำเนิดอัลกอริทึม ระหว่างพาเด็กไปแข่งคอมพิวเตอร์โอลิมปิกที่อิหร่าน   ใน WiTcast ตอน 79.1 นี้ ผม (แทนไท ประเสริฐกุล) ฟังอ.ม็อค กับอ.ท็อป เล่าถึงตำราชุด “โป้งก้อยอิ่ม” ของ สสวท. แล้วทึ่งมาก ทำออกมาได้ทันสมัยสุดๆ ตั้งแต่การดำเนินเรื่องด้วยการ์ตูนทั้งเล่ม ไปจนถึงบทเรียนที่แทรกอยู่อย่างเนียนมากๆ จนเด็กไม่รู้ตัวว่ากำลังเรียน นึกว่าเล่นเกมสนุกสนาน ที่ไหนได้ พอเล่นเสร็จ ปรากฏว่าได้เข้าใจการ “คิดอย่างเป็นระบบ” ไปแล้ว การเรียนรู้แบบนี้จะเป็นพื้นฐานที่นำสู่หลายสิ่งต่อไป ตั้งแต่การเขียนโปรแกรม ไปจนถึงการรู้เท่าทันเทคโนโลยีต่างๆ ในโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นอกจากเขียนตำราแล้ว จารย์ท็อปกับจารย์ม็อคยังเป็นโค้ชพาเด็กไปแข่งคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศด้วย มีเกร็ดสนุกๆ มาเล่าให้ฟังมากมาย […]