WiTcast 79.1 – Computing Science คืออิหยัง? แนวคิดใหม่ในการสอนคอมพ์ให้เด็กไทย

แชร์เรื่องนี้ต่อ

แขกรับเชิญตอนนี้ได้แก่ อ.ม็อค ผนวกเดช สุวรรณทัต (บน) และอ.ท็อป วัชรพัฐ เมตตานันท (ล่าง)

ทั้งสองมาร่วมแชร์ประสบการณ์อยู่ในทีมออกแบบหลักสูตร+ตำราใหม่

ที่จะเริ่มสอน “Computing Science” หรือ “วิทยาการคำนวณ” ให้กับเด็กไทยตั้งแต่ ป.1

รูปนี้อ.ท็อปถ่ายคู่กับรูปปั้น al-Khwarizmi ผู้ให้กำเนิดอัลกอริทึม ระหว่างพาเด็กไปแข่งคอมพิวเตอร์โอลิมปิกที่อิหร่าน

 

ใน WiTcast ตอน 79.1 นี้ ผม (แทนไท ประเสริฐกุล) ฟังอ.ม็อค กับอ.ท็อป เล่าถึงตำราชุด “โป้งก้อยอิ่ม” ของ สสวท. แล้วทึ่งมาก

ทำออกมาได้ทันสมัยสุดๆ ตั้งแต่การดำเนินเรื่องด้วยการ์ตูนทั้งเล่ม

ไปจนถึงบทเรียนที่แทรกอยู่อย่างเนียนมากๆ จนเด็กไม่รู้ตัวว่ากำลังเรียน นึกว่าเล่นเกมสนุกสนาน

ที่ไหนได้ พอเล่นเสร็จ ปรากฏว่าได้เข้าใจการ “คิดอย่างเป็นระบบ” ไปแล้ว

การเรียนรู้แบบนี้จะเป็นพื้นฐานที่นำสู่หลายสิ่งต่อไป ตั้งแต่การเขียนโปรแกรม ไปจนถึงการรู้เท่าทันเทคโนโลยีต่างๆ ในโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

นอกจากเขียนตำราแล้ว จารย์ท็อปกับจารย์ม็อคยังเป็นโค้ชพาเด็กไปแข่งคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศด้วย มีเกร็ดสนุกๆ มาเล่าให้ฟังมากมาย ทั้งหมดอยู่ในตอน 79.1 นี้ครับ ขอเชิญรับฟัง

 

 

ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม

เว็บไซต์สาขาคอมพิวเตอร์ สสวท. http://oho.ipst.ac.th

Facebook: สาขาคอมพิวเตอร์ สสวท. www.facebook.com/oho.ipst/

เว็บอย่างไม่เป็นทางการเกี่ยวกับหนังสือเรียนประถมศึกษา (โป้งก้อยอิ่ม)
website: www.pongkoiim.com
FB page: “บันทึกของโป้งก้อยอิ่ม” http://fb.com/pongkoiim

วิธีการซื้อหนังสือแบบเรียนฉบับการ์ตูน​ (โป้งก้อยอิ่ม)
– short URL (เพื่อซื้อจากศึกษาภัณฑ์ออนไลน์): http://pongkoiim.com/buy
– วิธีการซื้อแบบอื่น (เช่น ซื้อจากร้าน หรือสั่งซื้อแบบขายส่ง): https://www.pongkoiim.com/go/?page_id=2

เว็บไซต์ที่ใช้ฝึกเขียนโปรแกรมสำหรับเด็กและคนทั่วไป: www.code.org

————————–

 

 

ในตอน อ.ท็อปเล่าว่าเคยเอาโปรแกรมสกัดสไตล์ศิลปะจากภาพอาจารย์เฉลิมชัย แล้วเอามาใส่รูปถ่ายซูชิ ผลงานได้ออกมาประมาณนี้ครับ

อันนี้ อัลกอริทึมการเต้น Koisuru Fortune Cookie ที่จารย์ม็อคพูดถึง

 

ตำราสอน “วิทยาการคอมพิวเตอร์” ชุด “โป้งก้อยอิ่ม”

ใครสนใจสอบถามมาได้ทาง INBOX เพจ WiTcast

หรือติดตามข้อมูลต่างๆ ได้ทางเว็บ Pongkoiim.com และเพจ “บันทึกของโป้งก้อยอิ่ม”

 

ตัวอย่าง PDF

ป.1 https://academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1545362383_example.pdf
ป.2 https://academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1547785561_example.pdf
ป.3 (รอประมาณเดือน เม.ย. 2563)
ป.4 https://academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1545362561_example.pdf
ป.5 https://academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1547785633_example.pdf
ป.6 (รอประมาณเดือน เม.ย.​ 2563)

ตัวอย่างบทเรียนป.1 มีแนะนำตัวละคร และสอนให้รู้จัก “คิด” ตั้งแต่ก่อนจะให้เปิดคอมพิวเตอร์อะไรทั้งสิ้น

 

บทนับกุ้งบนพิซซ่าอย่างเป็นระบบ

มุกสอดแทรก

ป.2 มีการทำความสะอาดบ้าน แล้วต้องคิดว่าจะเลื่อนตู้ยังไงให้ย้ายจากห้องหนึ่งไปอีกห้องหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

ป. 4 เริ่มมีความซับซ้อนมากขึ้น เช่นไปเที่ยวบ้านย่าแล้วต้องคิดอัลกอริทึมแยกลูกปิงปองออกจากลูกกอล์ฟ

 

เบื้องหลังการออกแบบ

 

ตัวอย่างคุณครูที่นำกิจกรรมวิทยาการคำนวณไปปรับใช้ในห้องเรียน

คุณครูวารุณี บำรุงสวัสดิ์
รร.อนุบาลนครพนม
สอนเรื่อง algorithm และความสำคัญของความชัดเจนในการเขียนอธิบาย algorithm
นักเรียนได้ทดลองปฏิบัติจริง ผ่านสิ่งของที่จับต้องได้ (เรียงตุ๊กตาแม่ลูกดก)
นักเรียนได้ฝึกเขียน algorithm ลงบนกระดาษ/กระดาน โดยวิธีการเขียนที่ถูกต้องมีมากมายหลายแบบ
ปรับใช้กิจกรรมจากหนังสือ ป.5 บท 1 “ตุ๊กตาแม่ลูกดก”

พอมีเวลานิดหน่อย อัลกอรึทึม บทที่ 1 ตุ๊กตาแม่ลูกดก หนังสือเรียนวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สสวท.

Posted by Warunee Bumrungsawat on Wednesday, 12 June 2019

 

สำหรับบทตุ๊กตาแม่ลูกดก เป็นบทที่สนุกมาก ท่านที่สนใจสามารถดูตัวอย่างแนวทางการสอนแบบละเอียดๆ ได้ที่วิดีโอนี้ ซึ่งอ.ม็อค เป็นผู้สอนเองครับ (บันทึกจากการอบรมครู ตชด)

 

คุณครู นวกานต์ มณีศรี
จ.กาญจนบุรี
สอน algorithm ด้วยลูกปิงปอง ลูกกอล์ฟ และกะละมัง
ใช้กิจกรรมจากหนังสือ ป.4 บทที่ 1

 

คุณครู วชิราวรรณ เทียมทัน
รร.เมืองเลย
ต.ย. การเขียนโปรแกรมโดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์

 

คุณครู ชนันธิดา ประพิณ (ครูต้อม)
รร.ชุมชนบ้านแม่ตืน ต.ลำพูน
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเขียนโปรแกรมด้วยบัตรคำสั่ง (ป.2)

– เขียนโปรแกรมพาน้องอิ่มกลับบ้าน
– สังเกตว่านักเรียนจะได้ขยับตัวตลอดเวลา
– ได้ฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม และทักษะการสื่อสารที่มีความชัดเจน
– ฝึกให้นักเรียนยอมรับว่า คำตอบที่แตกต่างกัน อาจนำไปสู่ผลลัพธ์แบบเดียวกันได้

 

 

คุณ Pimchanok Choomanee นำเรื่องราวใน ป.1 บทที่ 4 “โปรแกรมแก้หิว” ไปสร้างเป็นวิดีโอ ดูง่ายดูเพลิน สนุกดีครับ

ครูบัวชมภู ภูกองไชย
โรงเรียนบ้านโคกกลาง สพป.บึงกาฬ
ป.2 กิจกรรมจัดเป็นหมู่อยู่ให้ถูกที่
สอนเรื่อง files & folders โดยไม่เน้นไปที่ซอฟต์แวร์
แต่มุ่งเน้นที่การใช้ความคิด วิจารณญาณ ในการจัดกลุ่มข้อมูลอย่างเหมาะสม เพื่อให้สามารถเรียกใช้งานได้สะดวก

 

แถมอีกคลิปครับ * อันนี้เด็ดสุด! *

คุณครูฉัตรชัย เผื่อนโชติ
โรงเรียนอนุบาลประจวบคีรีขันธ์
สอนการแก้ปัญหาด้วยเหตุผลเชิงตรรกะ โดยยกตัวอย่างกิจกรรมที่ดัดแปลงจากหนังสือ ป.5 บทที่ ​8 “กีฬาฮาเฮ” เสียงนักเรียนที่ได้ยินในคลิปนี้เป็นนักเรียน ป.4 มีความกระตือรือร้นและให้ความร่วมมือในการเรียนรู้มาก กล้าพูด กล้าตอบ และกล้าซักถาม จะเห็นได้ว่าคำถามแนว “ปัญหาเชาวน์” เหล่านี้ถ้ามีคุณครูที่คอยชี้แนะแนวทางการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล ทีละขั้นตอน อย่างคุณครูฉัตรชัย ก็จะไม่ใช่เรื่องยากเลย เด็กกลับรู้สึกสนุกเหมือนได้เล่นเกม