WiTThai – s02e03 “Doctor Mutant” อ.วรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ผู้เชี่ยวชาญโรคพันธุกรรมหายาก

ถ้าฟังจบแล้วเชิญทำแบบสอบถามได้ที่นี่ (คลิก) ฟังอ.วรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์ (นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี 2559 และคนไทยคนแรกที่รับรางวัล Newton Prize) แชร์ข้อคิด ประสบการณ์ การทำงาน การใช้ชีวิต ความรู้เรื่องโรคพันธุกรรมหายาก และวิชาเวชพันธุศาสตร์ ชีวิตที่สมดุลย์ วัยเด็กที่อบอุ่นและใกล้ชิดธรรมชาติ – สมดุลย์ระหว่างการเรียนกับการเล่น มุมมองการศึกษา – สมดุลย์ของเด็กที่เรียกว่า “เก่ง” มุมมองความสำเร็จ – อะไรคือปัจจัยที่ทำให้คนเราไปได้ไกล? มุมมองวงการวิจัย – ทำไมเมืองนอกไปได้ไกลกว่าเมืองไทย? เคล็ดลับการสร้างทีม – เริ่มจากศูนย์ จนเป็นศูนย์วิจัย ทำได้ไง? เคล็ดลับการใช้ชีวิต – สมดุลย์ 4 อ. มีอะไรบ้าง ต้องไปฟัง   โรคพันธุกรรมหายาก หายากขนาดไหน? มีอะไรบ้าง? การกลายพันธุ์ในชีวิตจริง เหมือนหรือต่างกับในหนังอย่างไร? การเข้าใจโรคหายาก ทำให้เข้าใจโรคหาง่ายได้ยังไง? สิ่งที่หมอเรียนรู้จากคนไข้ นอกจากเรื่องวิชาการ ปรัชญาความหลากหลายและความสมดุลย์ในธรรมชาติ   คำถามแถมท้าย ธุรกิจ […]

WiTcast Special – ซูกัสเล่าประสบการณ์เป็นธาลัสซีเมีย / งานวิจัยการรักษาด้วย gene therapy / + BONUS ท้ายตอน

ลิงค์ไปเปเปอร์งานวิจัย Gene Therapy in Patients with Transfusion-Dependent β-Thalassemia รายงานข่าวในไทย –1,2,3,4,5 เบสิกของ Hemoglobin ประกอบด้วยหน่วย อัลฟ่า และ เบต้า ขั้นตอนการทำ Gene Therapy บรรจุรหัสยีนที่ถูกต้องลงในไวรัส เก็บเซลไขกระดูกที่มียีนผิดพลาดออกมาจากผู้ป่วย ใช้ไวรัสส่งยีนที่ถูกต้องเข้าไปในเซลเหล่านั้น ฉีดเซลที่มียีนปกติแล้วกลับเข้าสู่ร่างกาย Retrovirus ที่เป็นเชื้อโรค ปกติจะปล่อย RNA เข้าเซลเรา แล้วสังเคราะห์ย้อนกลับเป็นชิ้น DNA ซึ่งจะไปแทรกใน DNA ของเรา แล้วทำให้เซลเรากลายเป็นโรงงานผลิตไวรัส แต่เราสามารถเอาคุณสมบัตินี้มาใช้ประโยชน์ แพ็คยีนที่เราต้องการใส่เข้าไปแทนยีนไวรัส แล้วใช้มันเป็นยานพาหนะ (vector) ส่งยีนที่ถูกต้องไปยังเซลที่เราจะรักษาได้   ความสำเร็จอื่นๆ ของการรักษาด้วย gene therapy –1,2 ภาพบรรยากาศการอัด เครดิตดนตรีประกอบ DOWNLOAD ไฟล์โบนุส ฟังให้จบตอนก่อนแล้วจะรู้ว่าคืออะไร