WiTcast 68 – จิบชาชงข่าว / ดราม่านักวิทย์จีนแก้ยีนเด็ก

ทำไมโลกถึงประนาม? คุยกรณีข่าวนักวิทย์จีน He Jiangkui ละเมิดจรรยาบรรณ ใช้เทคโนโลยี CRISPR แก้ไขพันธุกรรมมนุษย์ แล้วทำให้เกิดเด็กทารกขึ้นมาโดยไม่คำนึงถึงขั้นตอนความปลอดภัย – 1,2,3,4,5   Update – เจอข้อมูลเพิ่มว่านอกจากเด็กฝาแฝดที่เกิดมาแล้ว (นาน่า กับ ลูลู่) ยังมีคุณแม่อีกรายที่กำลังตั้งท้องเด็กที่ได้รับการแก้ไขยีนโดยคุณเหอ นอกจากนี้ยังเจอนักวิทย์อเมริกันรางวัลโนเบล Craig Mello มีส่วนรู้เห็นกับงานวิจัยนี้ด้วยตั้งแต่ตอนยังไม่เป็นข่าว เจออีเมลโต้ตอบกัน แม้คุณ Mello จะย้ำในอีเมลว่าไม่เห็นด้วยกับการกระทำของคุณเหอ แต่หลังจากรู้แล้วก็เก็บไว้ไม่ได้ไปแจ้งใคร ทั้งยังนั่งเป็นตำแหน่งบอร์ดของบริษัทที่คุณเหอทำวิจัยต่อ จนค่อยมาลาออกหลังจากที่เรื่องกลายเป็นข่าวแล้ว –1,2 update 2 ล่าสุด (7 ก.พ. 2018) – เจออาจารย์ Stanford อีกหลายคนที่เคยคุยกับคุณเหอและรู้เรื่องนี้ก่อนหน้าที่จะเป็นข่าว แต่เก็บเงียบไว้ ทางมหาวิทยาลัยกำลังดำเนินการสอบสวน สรุปแล้ววัฒนธรรมการเก็บข่าววงในแบบเงียบๆ ไว้ เป็นการกระทำที่เกิดอย่างแพร่หลาย และเป็นอีกประเด็นที่น่านำมาคิดทบทวนว่าสมควรหรือไม่ –1,2

WiTThai – s02e06 “My Elephant Poop” เก็บขี้ช้าง ที่กลางไพร กับ อ.ชลิตา คงฤทธิ์

ถ้าฟังจบแล้วเชิญส่งรีวิว และเล่นเกมชิงรางวัลได้ที่นี่ (คลิก) วิดิโอเสริม เล่าการเข้าป่าเก็บขี้ คลิปที่ 1 (คนละเนื้อหากับใน podcast นะ) วิดิโอเสริม เล่าการเข้าป่าเก็บขี้ คลิปที่ 2 (ถ่ายไว้ระหว่างอัด podcast) บรรยากาศการพูดคุยที่มหิดลศาลายา ขนาย งาช้างตัวเมีย พลายสีดอ ช้างตกมัน (Musth)   ตัวอย่างขี้ช้าง เครื่อง PCR ไว้เพิ่มก็อปปี้ชิ้น DNA (เหมือนหม้อหุงข้าวเลย) อาจารย์มิ้งฉายสไลด์ให้ดูขั้นตอนการเก็บตัวอย่างในพื้นที่ เจอแล้ว! ความฉ่ำวาว และมีเยื่อเมือก นมช้าง ฟันช้าง   วิดิโอเรื่องสัตว์เพศเมียที่มีอวัยวะแบบป้องกันการข่มขืน (rape-proof)   หนังสือ “เสียงคน เสียงช้างป่า” ถ้าใครสนใจลองสอบถามเข้ามาได้นะฮะ จะไปถามสกว.ให้อีกที ของรางวัลประจำตอน – กระดาษขี้ช้าง  ถ้าฟังจบแล้วเชิญส่งรีวิว และเล่นเกมชิงรางวัลได้ที่นี่ (คลิก)

WiTThai – s02e03 “Doctor Mutant” อ.วรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ผู้เชี่ยวชาญโรคพันธุกรรมหายาก

ถ้าฟังจบแล้วเชิญทำแบบสอบถามได้ที่นี่ (คลิก) ฟังอ.วรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์ (นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี 2559 และคนไทยคนแรกที่รับรางวัล Newton Prize) แชร์ข้อคิด ประสบการณ์ การทำงาน การใช้ชีวิต ความรู้เรื่องโรคพันธุกรรมหายาก และวิชาเวชพันธุศาสตร์ ชีวิตที่สมดุลย์ วัยเด็กที่อบอุ่นและใกล้ชิดธรรมชาติ – สมดุลย์ระหว่างการเรียนกับการเล่น มุมมองการศึกษา – สมดุลย์ของเด็กที่เรียกว่า “เก่ง” มุมมองความสำเร็จ – อะไรคือปัจจัยที่ทำให้คนเราไปได้ไกล? มุมมองวงการวิจัย – ทำไมเมืองนอกไปได้ไกลกว่าเมืองไทย? เคล็ดลับการสร้างทีม – เริ่มจากศูนย์ จนเป็นศูนย์วิจัย ทำได้ไง? เคล็ดลับการใช้ชีวิต – สมดุลย์ 4 อ. มีอะไรบ้าง ต้องไปฟัง   โรคพันธุกรรมหายาก หายากขนาดไหน? มีอะไรบ้าง? การกลายพันธุ์ในชีวิตจริง เหมือนหรือต่างกับในหนังอย่างไร? การเข้าใจโรคหายาก ทำให้เข้าใจโรคหาง่ายได้ยังไง? สิ่งที่หมอเรียนรู้จากคนไข้ นอกจากเรื่องวิชาการ ปรัชญาความหลากหลายและความสมดุลย์ในธรรมชาติ   คำถามแถมท้าย ธุรกิจ […]

มาร์โมเส็ท ไคเมร่า

มาร์โมเส็ท ไคเมร่า โดย แทนไท ประเสริฐกุล หมายเหตุ – เคยลงบทความนี้ในคอลัมน์ “คนค้นสัตว์” ของเว็บ open online เมื่อนานมาแล้ว (9 ก.ค. 2007) เห็นว่าสอดคล้องกับเนื้อหาที่พูดใน WiTcast ตอน 10.2 ดี ก็เลยนำมาแบ่งปันขอรับ —————————————————————————————– เป็นไปได้มั้ยครับ ที่ใครคนสักคนนึงจะเป็นพ่อของหลานตัวเอง? หรือเป็นป้าของลูกตัวเอง? แล้วลองนึกภาพดูสิครับ จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าเกิดว่าครึ่งนึงของสเปิร์มในอัณฑะ(หรือไข่ในรังไข่) ของคุณ ไม่ได้เป็นของตัวคุณเอง แต่กลับเป็นของพี่ชายคุณหรือน้องสาวคุณเอามาฝากไว้? ทั้งหลายที่ว่ามา ถ้าเป็นในคนก็คงจินตนาการได้ยากโขอยู่.. แต่ถ้าเป็นในตัวมาร์โมเส็ทแล้วละก็ ทั้งหมดนี้ ถือได้ว่า เป็นเรื่องที่ธรรมดามากๆ มาร์โมเส็ท (marmoset) เป็นลิงตัวเล็กๆ ประเภทหนึ่ง ซึ่งอาศัยอยู่ในป่าเขตร้อนแถวอเมริกาใต้ (หรือแถวตลาดจตุจักรก็หาได้เหมือนกัน) ดูผิวเผินพวกมันก็หน้าตาเหมือนลิงธรรมดา ไม่ได้มีอะไรแปลกประหลาดมาก ทว่า เมื่อเจาะลึกลงไปถึงระดับเซล มาร์โมเส็ทกลับแฝงไว้ซึ่งความพิศดารอันน่าอัศจรรย์ยิ่ง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมปกติทั่วไป เริ่มต้นชีวิตด้วยเซลๆ เดียว จากนั้นจึงค่อยๆ แบ่งตัวจาก 1 […]