WiTcast 120.2 – ยุงประสานเสียง หิ่งห้อยประสานแสง / เล่าประสบการณ์รวมทีมวิจัยไม่ธรรมดา

TIME STAMPS 0:00 คุยเล่นทั่วไป 10:20 เล่าประสบการณ์รวมทีมทำงานวิจัยหิ่งห้อย 45:00 เล่าเรื่องคุณโรบินกับคอนเสิร์ตยุง 1:16:00 การคิดค้นวิธีถ่ายทำหิ่งห้อยจากในน้ำ ลิงค์สมาชิกทีมวิจัยแต่ละคนนะครับ เผื่อใครอยากติดต่อหรือตามไปดูผลงาน คุณ Guy Amichay และคุณ Emma Zajdela จากภาควิชา Engineering Sciences & Applied Mathematics ของมหาวิทยาลัย Northwestern ที่ปรึกษาของทั้งสองคืออาจารย์ Daniel Abrams  คุณ Avalon Owens ตอนนี้เป็นนักวิจัยแมลงอยู่ Harvard คุณ Robin Meier ช่องยูทูบรวมผลงานศิลปะชีวะ คอนเสิร์ตยุง Truce (concert version) Centre Pompidou คลิปสัมภาษณ์โปรเจ็คยุง Truce: Strategies for Post-Apocalyptic Computation – report คลิปหิ่งห้อยประสานแสง Synchronizing Fireflies […]

WiTThai – s03e06 “นักสืบสร้างภาพ กับปริศนาจิ๊กซอว์แห่งวัดเตนมาซี” ft. อ.เสมอชัย พูลสุวรรณ และอ.เกรียงไกร เกิดศิริ

WiTThai ตอนนี้ จะพาทุกท่านย้อนอดีต ไปท่องโลกประวัติศาสตร์ศิลปะและพุทธศาสนา ณ เมืองพุกาม ประเทศพม่า มีวัดโบราณแห่งหนึ่ง ชื่อวัดเตนมาซี ที่นั่นเคยมีชุดภาพจิตรกรรมฝาผนังอันวิจิตรอลังการ แต่ถูกลักลอบกะเทาะหายไป ภาพที่หายไปคือภาพอะไร? มีความสำคัญอย่างไร? ภารกิจสืบสร้างไขปริศนากลายเป็นโจทย์และความหลงใหลของสองนักวิจัย ศ. ดร. เสมอชัย พูลสุวรรณ จากคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์ และอ. ดร. เกรียงไกร เกิดศิริ จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศิลปากร   สนับสนุนรายการโดย: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) พิธีกรประจำตอน: ดร. แทนไท ประเสริฐกุล, อาบัน สามัญชน ภาพปกโดย: แพรพลอย ดีศิลปกิจ   สไตล์จิตรกรรมพุทธศาสนาของพุกามในยุครุ่งเรือง (คริสต์ศตวรรษที่ 11-13) : ภาพนี้อยู่ที่วัดเตนมาซี (Thein-mazi) แสดงเรื่องพระพุทธเจ้าเสวยวิมุตติสุขด้วยการเดินจงกรมในสัปดาห์ที่สามภายหลังจากตรัสรู้ ตัวอย่างสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมที่พุกาม Thoman นักแสวงโชคผู้มากะเทาะเอาภาพไปอย่างเป็นระบบเมื่อร้อยกว่าปีก่อน แต่ขณะเดียวกันก็ถ่ายภาพที่เป็นประโยชน์ไว้เยอะมาก   สภาพผนัง ณ […]

WiTThai – s02e04 “Art for the Blind” ศิลปะปิดตาเห็น กับอ.สัญชัย สันติเวส และอ.นิธิวดี ทองป้อง

ถ้าฟังจบแล้วเชิญทำแบบสอบถามได้ที่นี่ (คลิก) วิทย์ไทยตอนนี้ฉีกจากโลกสายวิทย์ไปดูฝั่งสายศิลป์กันบ้างครับ โดยมีโจทย์คือ “จะออกแบบห้องเรียนศิลปะอย่างไร ให้เด็กตาบอดสามารถเรียนร่วมกับเด็กธรรมดาได้อย่างมีความสุข” สื่อการสอนที่อ.สัญชัย และอ.นิธิวดี (คณะสถาปัตย์ ม.ขอนแก่น) คิดค้นขึ้นมา มีผสมผสานทั้งแบบไฮเทค (โปรแกรมคอมพิวเตอร์) และโลเทค (ปูนปั้น) เรื่องราวเป็นอย่างไร มาฟังกันครับ   วิดิโอประกอบตอน ภาพบรรยากาศการคุย อ. สัญชัย สาธิตการใช้โปรแกรมเปลี่ยนสีเป็นเสียง สำหรับให้น.ร.ตาบอดดูรูป Starry Night ประกอบกับการคลำภาพนูนต่ำ เพื่อสัมผัสฝีแปรง อ. สัญชัยสาธิตโปรแกรมในโหมดวาดรูป  ตัวอย่างผลงานของน้องตาบอดที่มาร่วมใช้โปรแกรมวาดรูปในวิทยานิพนธ์หลักสูตรป.เอกของอ.สัญชัย (สาขาศิลปะการออกแบบ ม.ศิลปากร) รูปเกี่ยวกับ ร.9 ชื่อผลงาน “การรอคอย” ของน้องต้า  รูปผลงาน “ทะเลหาดทรายท้องฟ้า” ของน้องแอน ครับ : ) อ. หญิง นิธิวดี เข้ามาร่วมถ่ายทอดความในใจเกี่ยวกับปัญหาของหลักสูตรวิชาศิลปะบ้านเรา อ. ฮั้ว เล่าเรื่องการใช้วีนัส 3 ยุค เป็นตัวแทนในการสอนเรื่องศิลปะยุคต่างๆ Venus of […]