WiTThai s02e09 – “Rawai” คุยกับชาวเลหาดราไวย์ เรื่องการใช้งานวิจัยเพื่อปกป้องสิทธิชุมชน

ถ้าฟังจบแล้วเชิญรีวิวได้ที่นี่ (คลิก) มีความคิดเห็นอย่างไร อยากฝากข้อความถึงชาวบ้าน ถึงทีมงาน WiTcast ถึงสกว. ฝากได้ที่นี่เลยครับ   WiTThai (วิทย์ไทย) ตอนนี้ แหวกแนวพาผู้ฟังไปสัมผัสงานวิจัยที่ไม่ได้ทำโดยนักวิทย์หรือนักวิจัย แต่ทำโดยชุมชนชาวเลหาดราไวย์ เป็นผลงานผสมผสานหลายศาสตร์ ที่ชาวบ้านร่วมกันค้นหายืนยันประวัติการตั้งถิ่นฐานของบรรพบุรุษตนเองตั้งแต่โบราณ ทั้งยังรวบรวมภูมิปัญา วิถีความเป็นอยู่ และวัฒนธรรมต่างๆ ของชาวเล ให้กลายเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ที่ทรงพลัง สามารถนำไปใช้ปกป้องสิทธิดั้งเดิมของชุมชนได้สำเร็จ ในความคิดเห็นของพวกเราคณะจัดทำ รู้สึกว่าเรื่องราวในตอนนี้เป็นเรื่องราวที่สวยงามมากจริงๆ อยากให้คนได้รับรู้กันเยอะๆ เพราะเป็นแบบอย่างของคนตัวเล็กๆ ที่สามารถจับมือกันต้านคลื่นลูกใหญ่แห่งการเปลี่ยนแปลงสมัยใหม่ได้อย่างทรนง ไม่ถูกกลืนหาย ขณะเดียวกันก็โอนอ่อนอย่างสันติ และมีปัญญาเป็นสมอ – “ชาวเลคือผู้บุกเบิก ไม่ใช่ผู้บุกรุก” ดีใจแทนลูกหลานของพี่ๆ ทุกคนที่จะได้เรียกทะเลเป็นบ้านต่อไปครับ คลิปวิดิโอประกอบตอน   งานวิจัยฉบับเต็ม (กดดาวน์โหลดได้เลย) โครงการสืบค้นประวัติการตั้งถิ่นฐานและวิถีวัฒนธรรม เพื่อยืนยันสิทธิชุมชนดั้งเดิมและแก้ปัญหาการออกเอกสารสิทธิ์ ทับที่ดินชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล บ้านราไวย์ อําเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต หัวหน้าโครงการ: นายสนิท แซ่ชั่ว   เอกสารประกอบการประกาศรางวัลผลงานวิจัยเด่นสกว. ประจำปี 2016   เจอ Ebook […]

WiTThai – s02e05 “Earthquake Sensei” แผ่นดินไหว ยังไงก็ไหว กับอ.เป็นหนึ่ง วานิชชัย

ถ้าฟังจบแล้วเชิญทำแบบสอบถามได้ที่นี่ (คลิก) บรรยากาศการคุย ที่ AIT     วิดิโอประกอบตอน สาธิตเรื่องความสูงตึกกับแผ่นดินไหว วิดิโอรายการอื่นๆ ที่สัมภาษณ์อ.เป็นหนึ่ง   ความรู้ทั่วไปเรื่องการเกิดแผ่นดินไหว   รอยเลื่อน San Andreas รอยเลื่อน Sagaing ที่พม่า สเกลความรุนแรงของแผ่นดินไหว สุนามิ แผ่นดินไหวเมือง Kumamoto แผ่นดินไหวเนปาล ตัวอย่างว่าโครงสร้างอิฐ ไม่ทนแผ่นดินไหว   แอ่งกะทะรอบกรุงเทพ ขยายความรุนแรงแผ่นดินไหว อุปกรณ์สาธิตเรื่องความสูงอาคารกับแผ่นดินไหว วิธีเอาตัวรอดขณะเกิดแผ่นดินไหว   อาคารชั้นล่างอ่อน (soft story) และการเสริมกำลัง โครงสร้างภายในของโลก เพลงที่ใช้ประกอบตอน   อยู่เมืองไทย ต้องกลัวแผ่นดินไหวรึเปล่า?ชวนฟังรายการ #WiTThai s02e05 ตอน "Earthquake Sensei" แผ่นดินไหว ยังไงก็ไหว… Posted by WiTcast on Sunday, 2 September […]

WiTThai – s02e04 “Art for the Blind” ศิลปะปิดตาเห็น กับอ.สัญชัย สันติเวส และอ.นิธิวดี ทองป้อง

ถ้าฟังจบแล้วเชิญทำแบบสอบถามได้ที่นี่ (คลิก) วิทย์ไทยตอนนี้ฉีกจากโลกสายวิทย์ไปดูฝั่งสายศิลป์กันบ้างครับ โดยมีโจทย์คือ “จะออกแบบห้องเรียนศิลปะอย่างไร ให้เด็กตาบอดสามารถเรียนร่วมกับเด็กธรรมดาได้อย่างมีความสุข” สื่อการสอนที่อ.สัญชัย และอ.นิธิวดี (คณะสถาปัตย์ ม.ขอนแก่น) คิดค้นขึ้นมา มีผสมผสานทั้งแบบไฮเทค (โปรแกรมคอมพิวเตอร์) และโลเทค (ปูนปั้น) เรื่องราวเป็นอย่างไร มาฟังกันครับ   วิดิโอประกอบตอน ภาพบรรยากาศการคุย อ. สัญชัย สาธิตการใช้โปรแกรมเปลี่ยนสีเป็นเสียง สำหรับให้น.ร.ตาบอดดูรูป Starry Night ประกอบกับการคลำภาพนูนต่ำ เพื่อสัมผัสฝีแปรง อ. สัญชัยสาธิตโปรแกรมในโหมดวาดรูป  ตัวอย่างผลงานของน้องตาบอดที่มาร่วมใช้โปรแกรมวาดรูปในวิทยานิพนธ์หลักสูตรป.เอกของอ.สัญชัย (สาขาศิลปะการออกแบบ ม.ศิลปากร) รูปเกี่ยวกับ ร.9 ชื่อผลงาน “การรอคอย” ของน้องต้า  รูปผลงาน “ทะเลหาดทรายท้องฟ้า” ของน้องแอน ครับ : ) อ. หญิง นิธิวดี เข้ามาร่วมถ่ายทอดความในใจเกี่ยวกับปัญหาของหลักสูตรวิชาศิลปะบ้านเรา อ. ฮั้ว เล่าเรื่องการใช้วีนัส 3 ยุค เป็นตัวแทนในการสอนเรื่องศิลปะยุคต่างๆ Venus of […]

WiTThai – s02e03 “Doctor Mutant” อ.วรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ผู้เชี่ยวชาญโรคพันธุกรรมหายาก

ถ้าฟังจบแล้วเชิญทำแบบสอบถามได้ที่นี่ (คลิก) ฟังอ.วรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์ (นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี 2559 และคนไทยคนแรกที่รับรางวัล Newton Prize) แชร์ข้อคิด ประสบการณ์ การทำงาน การใช้ชีวิต ความรู้เรื่องโรคพันธุกรรมหายาก และวิชาเวชพันธุศาสตร์ ชีวิตที่สมดุลย์ วัยเด็กที่อบอุ่นและใกล้ชิดธรรมชาติ – สมดุลย์ระหว่างการเรียนกับการเล่น มุมมองการศึกษา – สมดุลย์ของเด็กที่เรียกว่า “เก่ง” มุมมองความสำเร็จ – อะไรคือปัจจัยที่ทำให้คนเราไปได้ไกล? มุมมองวงการวิจัย – ทำไมเมืองนอกไปได้ไกลกว่าเมืองไทย? เคล็ดลับการสร้างทีม – เริ่มจากศูนย์ จนเป็นศูนย์วิจัย ทำได้ไง? เคล็ดลับการใช้ชีวิต – สมดุลย์ 4 อ. มีอะไรบ้าง ต้องไปฟัง   โรคพันธุกรรมหายาก หายากขนาดไหน? มีอะไรบ้าง? การกลายพันธุ์ในชีวิตจริง เหมือนหรือต่างกับในหนังอย่างไร? การเข้าใจโรคหายาก ทำให้เข้าใจโรคหาง่ายได้ยังไง? สิ่งที่หมอเรียนรู้จากคนไข้ นอกจากเรื่องวิชาการ ปรัชญาความหลากหลายและความสมดุลย์ในธรรมชาติ   คำถามแถมท้าย ธุรกิจ […]

WiTThai – s02e02 “The World of Bees” โลกของผึ้ง กับอ.ภาณุวรรณ จันทวรรณกูร

ถ้าฟังจบแล้วเชิญทำแบบสอบถามได้ที่นี่ (คลิก) ผึ้งเป็นสัตว์สังคมที่มีพฤติกรรมน่าสนใจมากมาย ตอนนี้จะเล่าให้ฟังทั้งเรื่องการแบ่งงาน การผสมพันธุ์ การเต้นระบำสื่อสาร และอีกหลายพฤติกรรมที่เชื่อว่าหลายคนไม่เคยได้ยินมาก่อน   นอกจากนี้ ผึ้งยังเป็นสัตว์ผสมเกสรตัวสำคัญที่ทั้งโลกขาดไม่ได้ แต่ช่วงที่ผ่านมาประชากรผึ้งกลับด่วนตายกันอย่างน่าตระหนก อ.ภาณุวรรณ เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญระดับโลกด้านการสืบหาสาเหตุการตายของผึ้ง ไปฟังอาจารย์เล่าถึงผลการวิจัยที่ทำมานานถึง 17 ปี และการค้นพบที่น่าสนใจเกี่ยวกับผึ้งท้องถิ่น แถมท้ายตอน ยังมีแนะนำสารพัดผลิตภัณฑ์จากผึ้ง น้ำผึ้งอะไรอร่อยสุด? นมผึ้งรสชาติเป็นยังไง? จะได้รู้กัน   และแน่นอน จะเป็น WiTThai ไปไม่ได้ ถ้าอาจารย์ไม่ได้เล่าแชร์ประสบการณ์มันๆ ตลอดจนแนวคิด การใช้ชีวิต และบทเรียนการทำงานต่างๆ ที่เป็นประโยชน์มากมาย   เชิญชวนมารับฟังและเรียนรู้อย่างรีแล็กซ์ด้วยกันเลยคร้าบ ยืมภาพและวิดิโอประกอบบางส่วนจากช่างภาพ National Geographic ชื่อคุณ Anand Varma นะฮะ   จริงๆ แล้วผึ้งมีหลายชนิดมาก ผึ้งที่ให้น้ำผึ้ง (honey bees) คือส่วนน้อย   ผึ้งท้องถิ่นไทย – ผึ้งหลวง   ผึ้งโพรง   […]

WiTThai – s02e01 “Space Weather Man” อ.เดวิด รูฟโฟโล ผู้รักการศึกษารังสีคอสมิก และรักประเทศไทย

ถ้าฟังจบแล้วเชิญทำแบบสอบถามได้ที่นี่ (คลิก) SHOW NOTE ภาพจากวันที่ไปคุยกับอาจารย์เดวิด รูฟโฟโล ที่ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทย์ มหิดล พญาไท ไม่เคยนั่งฟังเล็คเชอร์ใกล้ขนาดนี้ สไลด์ที่อาจารย์ฉายให้ดู ไล่ timeline ประวัติการศึกษาและการทำงาน เบสิกเรื่อง Cosmic Rays แยกยังไงระหว่างอนุภาคที่มาจากดวงอาทิตย์ กับที่มาจากแหล่งอื่นในกาแล็กซี   ลมสุริยะ solar wind   จุดมืดบนดวงอาทิตย์ (Sunspots)     วัฏจักร 11 ปี   รังสีคอสมิก กับที่ตั้งประเทศไทย ลูกโลกสาธิต ภาพการตั้ง “สถานีตรวจวัดนิวตรอนสิรินธร” บนยอดดอยอินทนนท์ สภาพอวกาศ (Space Weather) และความสำคัญทางเศรษฐกิจ แล็บอาจารย์มีงานวิจัยสำหรับทุกรสนิยม มาแล้วครับ #WiTThai ซีซันที่ 2 Ep.01 "Space Weather Man" คุยกับ อ.เดวิด รูฟโฟโล […]

WiTcast ep 57 – แนะนำงาน 25 ปีสกว. และ Thailand Research Week / เตรียมอุ่นเครื่องรับ WiTThai ซีซั่นสอง

ขอรีบลงไฟล์เสียงกับรูปประกอบไว้คร่าวๆ ก่อนนะครับ เดี๋ยวจะแวะมาเติมรายละเอียด+ลิงค์ต่างๆ อีกทีคร้าบ ขอบคุณครับ  

บทความ “หอยทากไทยกับต้นไม้แห่งชีวิต : นวัตกรรม ความหมาย ความงาม”

WiTThai ตอนนี้เปลี่ยนบรรยากาศจากสัมภาษณ์ผู้วิจัยโดยตรง เป็นสามพิธีกร WiTcast เล่ากันเอง แถมยังรวมงานวิจัยสกว.หลากหลายสาขาไว้ในตอนเดียว แทนไท ประเสริฐกุล เล่างานวิจัยของศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา และคณะ ซึ่งสำรวจความหลากหลายของหอยทากบกในเมืองไทยจนค้นพบสายพันธุ์ใหม่มากมาย ตลอดจนสามารถนำเมือกของหอยทากหลายชนิดมาพัฒนาเป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องสำอางซึ่งมีคุณภาพไม่แพ้ของต่างประเทศ ป๋องแป๋งเล่าเรื่องเทคโนโลยีควอนตัมดอท หรืออะตอมประดิษฐ์ และการนำไปประยุกต์ใช้ทำโซลาร์เซลล์ ซึ่งเป็นงานวิจัยโดย ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญญาแก้ว คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาบันเล่างานวิจัยด้านโบราณคดี ว่าด้วยการนำความรู้ด้านสัตววิทยามาประยุกต์ใช้ในการศึกษากระดูกสัตว์โบราณ ซึ่งบ่งบอกได้ถึงพฤติกรรมการล่าและการกินของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในบริเวณอำเภอปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน เป็นโครงการวิจัยโดยนายอนุสรณ์ อำพันธ์ศรี ภาควิชาโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร SHOW TRANSCRIPT [บทหนึ่งจากหนังสือ WiTThai เล่ม 2] สั่งซื้อได้ทาง facebook.com/witcastthailand   หอยทากไทยกับต้นไม้แห่งชีวิต นวัตกรรม ความหมาย ความงาม   แทนไท : ยินดีตอนรับเข้าสู่รายการ WiTThai ครับ วันนี้รายการเราจะมีความแตกต่างกับตอนที่ผ่านๆ มาเล็กน้อย คือโดยปกติเราจะเดินทางไปทั่วแคว้นแดนดินของประเทศไทยเพื่อสัมภาษณ์นักวิจัยและให้พวกเขาได้เล่าถึงงานที่ตัวเองทำ แต่ในวันนี้ เพื่อเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศ ผมจะเป็นคนเล่างานวิจัยให้ทุกท่านฟังเองครับ! ป๋องแป๋ง […]

WiTThai – s01e05 “ตุ้มซัง สังคมศาสตร์” กับพี่ตุ้ม เอกสิทธิ์ หนุนภักดี

แขกรับเชิญของ WiTThai ตอนนี้คือดร.เอกสิทธิ์ หนุนภักดี (ชื่อเล่นพี่ตุ้มซัง) ตัวแทนนักวิชาการรุ่นใหม่ผู้มีบทบาทร่วมดูแลและประสานงานโครงการวิจัยต่างๆ ของสกว.ในสายสังคมศาสตร์มานานหลายปี การอัดเสียงสัมภาษณ์เกิดขึ้นที่ห้องอัดของทีมงาน WiTcast เมื่อเดือนพฤษภาคม 2559 สำหรับเนื้อหาในตอน ดร.เอกสิทธิ์ ได้อธิบายให้เห็นภาพรวมของแวดวงวิจัยด้านสังคมศาสตร์ ซึ่งปกติจะได้รับการพูดถึงน้อยกว่าด้านวิทยาศาสตร์ ประเด็นที่พูดไล่เรียงตั้งแต่สังคมศาสตร์คืออะไร มีความเป็นมาอย่างไร สกว.สนับสนุนงานวิจัยสังคมศาสตร์แบบไหน และมีหลักคิดในการเลือกสนับสนุนงานวิจัยอย่างไร จากนั้นจึงยกตัวอย่างโครงการวิจัยที่มีผลกระทบต่อสังคมมาก เช่น สันติวิธี ความรุนแรงและสังคมไทย โดยศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ การทุจริตจำนำข้าว การคอร์รัปชั่นกรณีศึกษา : โครงการจำนำข้าวทุกเมล็ด โดย รศ. ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร และตัวอย่างสุดท้ายได้แก่โครงการที่ดร.เอกสิทธิ์เป็นผู้ดูแลเอง คือโครงการสันติไมตรีไทย-ญี่ปุ่น รายการตอนนี้นับเป็นการเปิดโลกทัศน์ให้กับผู้ฟังส่วนใหญ่ที่ไม่เคยรับทราบเกี่ยวกับงานวิจัยด้านสังคมศาสตร์ตลอดจนบทบาทของสกว.ในส่วนนี้มาก่อน SHOW NOTE WiTThai ตอนนี้ฟีเจอริ่งพี่ตุ้มซัง เอกสิทธิ์ หนุนภักดี ในฐานะนักวิชาการสายสังคมศาสตร์ (Social Science) ที่ดูแลโครงการวิจัย+ช่วยประสานงานให้สกว.อยู่นะฮะ ฟังพี่ตุ้มเล่าตั้งแต่ภาพกว้าง สังคมศาสตร์คืออะไร กำเนิดมายังไง ครอบคลุมอะไรบ้าง จากนั้นพรรณนาเรื่อยไปถึงความน้อยเนื้อต่ำใจของนักสังคมศาสตร์ ถกเถียงประเด็นคุณค่างานวิจัยสำคัญที่ตรงไหน ทำไมต้องสนับสนุน ก่อนจะเจาะเข้าสู่ตัวอย่างโครงการวิจัยสังคมศาสตร์เด่นๆ ของสกว. อาธิ […]

WiTThai – s01e01 “อ้วนอัลไซเมอร์” กับอ.สิริพร ฉัตรทิพากร

WiTThai ตอนนี้ เราเดินทางไปสัมภาษณ์ ทพญ. ดร. สิริพร ฉัตรทิพากร ที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2559 เนื้อหาในตอนเน้นเผยความเชื่อมโยงระหว่างความอ้วนกับโรคอัลไซเมอร์ โดยเฉพาะในหญิงวัยหมดฮอร์โมน ซึ่งเป็นเรื่องที่คนทั่วไปมักไม่ทราบมาก่อน นอกจากนี้อาจารย์ยังได้อธิบายถึงภาวะร่างกายอักเสบเรื้อรัง (chronic inflammation) อันเป็นต้นตอของสารพัดโรคตั้งแต่เบาหวาน หัวใจ ไปจนถึงอัลไซเมอร์ การเห็นความเชื่อมโยงของสาเหตุนำไปสู่การทดลองค้นพบตัวยาและวิถีชีวิตที่น่าจะสามารถช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ตลอดจนช่วยซ่อมแซมความเสียหายต่างๆ ที่เกิดจากภาวะอักเสบได้ งานวิจัยที่พูดถึงในตอนนี้ได้รับคัดเลือกเป็นหนึ่งในงานวิจัยเด่นของสกว.ประจำปี 2558 ลำดับเนื้อหาในตอน แนะนำรายการใหม่ WiTThai / สัมภาษณ์อ.สิริพร ฉัตรทิพากร ที่ม.เชียงใหม่ / สรุปย่อความเชื่อมโยงไขมันกับอัลไซเมอร์ /  ย้อนไปเล่าเบสิกของการอักเสบอันเป็นบ่อเกิดของโรคต่างๆ / โยงเข้าเรื่องเบาหวาน / เล่าขั้นตอนการทดลองของอาจารย์ / ผลชี้ยาต้านเบาหวานช่วยกู้ความจำและป้องกันเซลสมองเสื่อมในหนูอ้วนได้ / เป็นโมเดลที่เหมาะเอาไปพัฒนากับคนต่อไป SHOW NOTE ชื่อเต็มงานวิจัย “ผลของยาต้านเบาหวานและเอสโตรเจนต่อการเรียนรู้และความจำของสมองในภาวะอ้วนและขาดฮอร์โมนเพศหญิง “ ชื่อและตำแหน่งเต็มอาจารย์ “รศ.ทพญ.ดร.สิริพร ฉัตรทิพากร” อ. ศิริพร ในวันรับรางวัลงานวิจัยเด่นของสกว.ประจำปี […]

1 2