WiTcast 133 – ไลฟ์วันเด็ก กับยชและโจ้ Salmon Podcast / WiT news / WiT Quiz

บรรยากาศการจัดรายการ ข่าว พบฟอสซิลหนังที่เก่าแก่ที่สุดตั้งแต่เคยเจอมา อายุเกือบ 300 ล้านปี –1,2 หนังนี้มาจากยุคเปอร์เมียน ประมาณ 300-250 ล้านปีก่อน สันนิษฐานว่าเป็นของสัตว์เลื้อยคลานตัวเล็กๆ เหมือนกิ้งก่า ชื่อ Captorhinus aguti มีชีวิตอยู่ยุคก่อนไดโนเสาร์ ข่าววิเคราะห์สาเหตุการสูญพันธุ์ของเอปยักษ์ Gigantopithecus –1,2 ข่าวใช้เทคโนโลยี Lidar แสกนเจอผังเมืองโบราณที่อเมซอน – 1 ข่าวเพนกวินมีการนอนแบบ microsleep หลับครั้งละ 4-10 วินาที แต่หลับวันละหมื่นรอบ –1,2,3 ข่าว เฮอริเคนพัดผ่านแพขยะกลางทะเลแล้วพาไมโครพลาสติกขึ้นบก –1,2 ข่าวปี 2023 ทำลายสถิติอุณหภูมิผิวน้ำทะเลสูงสุด –1 เรื่องเด่นปีที่แล้ว – FDA อนุมัติยาชะลอสาเหตุอัลไซเมอร์ตัวแรก (Leqembi) –1,2 ข่าวนกกระเต็นมียีนผลิตโปรตีนแบบเดียวกับที่สะสมแล้วทำให้เป็นอัลไซเมอร์ แต่สำหรับนกน่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกันสมองกระแทกเวลาพุ่งลงน้ำไปจับปลา –1,2 Breakthrough of the Year 2023 นิตยสาร Science […]

คุย EN 04 – “เกาะสะอาดหาดสวรรค์” คุยเรื่องการจัดการขยะบนเกาะ กับเจ้าของรีสอร์ท คุณหนึ่ง เรวัต อ๋องเจริญ

อีพีนี้ผม (แทนไท ประเสริฐกุล) กลับไปเยี่ยมบ้านที่ตรัง และได้มีโอกาสคุยกับพี่หนึ่ง (เรวัต อ๋องเจริญ) เจ้าของรีสอร์ทสวยๆ หลายแห่ง ทั้งบนเกาะไหง (ทับวารินทร์ และมายาเล รีสอร์ท) และที่หาดเจ้าไหม (Dugong Village) ซึ่งมีการบริหารจัดการที่ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมาก อยากให้ทุกคนได้ลองฟังมุมมองจากฝั่งผู้ประกอบการดูบ้าง เผื่อจะเห็นแนวทางและเกิดแรงบันดาลใจ ทั้งเรื่องการจัดการปัญหาขยะ และลดการใช้พลาสติก เรื่องราวของพี่หนึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีเลยว่าความรักธรรมชาติกับแก้การปัญหาเชิงธุรกิจเป็นสิ่งที่ไปด้วยกันได้ คุย EN – เป็นรายการชวนคุยประเด็นสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นกันเอง รอติดตาม EP. ใหม่ได้ทุกวันพุธทาง Spotify และ YouTube Spotify: คุย EN >>> https://spoti.fi/3LsiQKM YouTube: EN TUBE >>> https://www.youtube.com/c/ENTUBE

WiTcast 108.1 – ทักทายทั่วไป / บรรยาย Sex in the Sea (เซ็กส์ใต้สมุทร) ครึ่งแรก

0:00 ทักทายทั่วไป 53:56 เข้าบรรยาย “Sex in the Sea” WiTcast ตอนนี้เป็นทอล์กพิเศษที่จัดโดยค่าย Marince Ecology Summer Camp ของ Phuket Marine Biological Center และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  เนื้อหาทอล์กอ้างอิงจากหนังสือ Sex in the Sea โดย Marah J. Hardt https://www.amazon.com/gp/product/B01… คลิปที่ใช้ประกอบในตอน ปูถั่วเขี่ยหอย https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/arti… เสียงร้องของปลา Plainfin midshipman https://vimeo.com/227099748 หนอน marine flat worm ดวลลึงค์ https://www.youtube.com/watch?v=VHOFQ… คลิปไลฟ์สด พระอภัยมณีมีลูกกับผีเสื้อสมุทรได้ว่าพิสดารแล้ว การสืบพันธุ์ในมหาสมุทรของจริงยิ่งเร้าใจกว่า . เชิญชวนทุกท่านดำดิ่งสู่ดินแดนต้นกำเนิดของเซ็กส์ 500 ล้านปีของวิวัฒนาการภายใต้โจทย์ยากมากมาย ได้ก่อให้เกิดสารพัดกรรมวิธีฟีเจอริ่งใต้น้ำอันแสดสุดลึกล้ำ ไล่ตั้งแต่หนอนดวลลึงค์ ไปจนถึงปูเขี่ยหอย และอื่นๆ อีกเยอะแยะ […]

WiTsound 001 – เสียงคลื่นริมหาดแห่งหนึ่งที่จ.ปัตตานี

วิทซาวด์ – คอนแท็นต์ใหม่แนวทดลอง เอาไว้ฟังเพื่อรีแล็กซ์หรือกล่อมนอนก็ได้ครับ สำหรับซาวด์นี้เป็นเสียงคลื่นที่อัดมาจากชายหาดแห่งหนึ่ง ซึ่งผมกับอาบันแวะลงไปเดินเล่นระหว่างทางขับรถผ่านปัตตานีมุ่งหน้าไปหาดใหญ่ ไม่รู้เหมือนกันว่ามีชื่อหาดมั้ย แต่ไม่มีคนเลยนอกจากพวกเรา

WiTThai – s01e04 “ปลดทุก ปลาทู” กับอ.เมธี อ.สมหมาย และอ.วรัณทัต แห่งคณะประมง เกษตรศาสตร์

WiTThai ตอนนี้ไปสัมภาษณ์ผศ.ดร. เมธี แก้วเนิน ผศ. ดร. สมหมาย เจนกิจการ และดร.วรัณทัต ดุลยพฤกษ์ ที่คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อเดือนเมษายน 2559 เนื้อหาในตอนว่าด้วยการสำรวจปลาทูในอ่าวไทย เพื่ออัพเดตข้อมูลสำหรับวางนโยบายบริหารจัดการทรัพยากรทะเลให้สอดคล้องกับความเป็นจริงในปัจจุบัน ความน่าสนใจของโครงการนี้ยังอยู่ที่การครอบคลุมประเด็นหลากหลากหลายไม่ว่าจะเป็นด้านนิเวศวิทยา ชีววิทยา เศรษฐศาสตร์ กฏหมาย การเมือง จริยธรรม และอื่นๆ นอกจากทำความเข้าใจโครงการวิจัยสำรวจปลาทูแล้ว ผู้ดำเนินรายการยังมีโอกาสได้ซักถามในเรื่องทั่วไปที่เกี่ยวกับอาหารทะเล เช่น แซลมอนที่เรากินมาจากไหน ปลากระป๋องคือปลาอะไร ฯลฯ และอีกมิติที่รายการตอนนี้ถ่ายทอดออกมาได้ก็คือความเป็นทีมของอาจารย์ทั้งสามคนซึ่งเป็นเพื่อนกันตั้งแต่สมัยเรียน ทำให้พูดคุยเล่าประสบการณ์ทำงานที่เผชิญร่วมกันมาได้อย่างออกรส อันดับสุดท้าย รายการ WiTThai ตอนนี้เป็นกระบอกเสียงให้คนหันมาสนใจประเด็นด้านทรัพยาการธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนบทบาทของสกว.ในการช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ WiTThai ตอนนี้ฟีเจอริ่งโครงการวิจัยของ อ.เมธี แก้วเนิน อ.สมหมาย เจนกิจการ และ อ.วรัณทัต ดุลยพฤกษ์ (คณะประมง ม.เกษตรศาสตร์) ว่าด้วยการสำรวจปลาทูในอ่าวไทย เพื่ออัพเดทข้อมูลสำหรับวางนโยบายบริหารจัดการ 3 พาร์ทหลักของงาน 1.เก็บข้อมูลภาพดาวเทียม ฤดูกาลและตำแหน่งแพลงตอนพืช แหล่งอาหารของปลาทู 2. ออกเรือเก็บข้อมูลตัวปลาทู […]